รับซื้อแบงค์เก่า รับซื้อธนบัตรเก่า


รับซื้อแบงค์เก่า สมัยรัชกาลที่ 5 – รัชกาลที่ 9
รับซื้อธนบัตรเลขตอง (เลขเหมือนกันทุกตัว)
รับซื้อธนบัตรที่ระลึก  แบงค์ที่ระลึก
รับซื้อธนบัตรตัวอย่าง แบงค์ตัวอย่าง
รับซื้อแบงค์จีน  แบงค์ต่างประเทศ

ผลงานรับซื้อจริง จ่ายจริง 💵

เงินตรากระดาษ เริ่มผลิตขึ้นใช้เป็นครั้งแรก ในสมัยรัชกาลที่ 4 โดยเรียกว่า “หมาย” แต่ออกมาใช้ได้ไม่นานนักก็ไม่เป็นที่นิยม และยกเลิกไป เนื่องจากประชาชนยังยึดมั่นเชื่อถือในเงินตราโลหะประเภทเหรียญอยู่ ในเวลาต่อมา ยังคงมีการผลิตเงินตรากระดาษประเภทต่างๆออกมาใช้อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น “อัฐกระดาษ” “บัตรธนาคาร” “เงินกระดาษหลวง” จนกระทั่งกลายเป็น “ธนบัตร” ที่เราใช้กันแบบทุกวันนี้ คือในปี พ.ศ.2445 (ร.ศ.121) ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5

ธนบัตรแบบ 1 จัดพิมพ์จากบริษัทโทมัส เดอ ลา รู ประเทศอังกฤษ โดยมีลวดลายแต่ข้างหน้า ด้านหลังเป็นกระดาษเปล่าไม่มีรอยพิมพ์ใดๆ นักสะสมเรียกธนบัตรแบบนี้ว่า “แบงค์หน้าเดียว” ซึ่งในระยะแรกผลิตขึ้นทั้งหมด 5 ชนิดราคา ได้แก่ 5 10 20 100 และ 1,000 บาท สาเหตุที่ไม่ออกธนบัตรใบละบาท เพราะตอนนั้นเรามีเหรียญบาทใช้กันอยู่แล้ว จนกระทั่งปี พ.ศ.2461 จึงได้มีการผลิตธนบัตรใบละหนึ่งบาทออกใช้ด้วย ณ ปัจจุบันแบงค์หน้าเดียว ชนิดราคา 1,000 บาท ในสภาพสวยสมบูรณ์มีนักสะสมต้องการรับซื้อในราคาหลักล้านกันเลยทีเดียว

ธนบัตรหน้าเดียว (แบงค์หน้าเดียว)

ธนบัตรหน้าเดียว (แบงค์หน้าเดียว)

ธนบัตรแบบ 2  ออกใช้ในปี พ.ศ.2468 ลวดลายด้านหลังเป็นรูปงานพระราชพิธี จรดพระนังคัลแรกนาขวัญ นักสะสมนิยมเรียกธนบัตรแบบนี้ว่า “แบงค์ไถนา” ซึ่งแบ่งออกเป็นสองรุ่น รุ่นแรกเขียนว่า “สัญญาจะจ่ายเงินให้แก่ผู้ที่นำธนบัตรนี้มาขึ้นเป็นเงินตราสยาม” ส่วนรุ่นที่สองเขียนว่า “ธนบัตรเป็นเงินที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย”

ธนบัตร 1 บาท ไถนา(แบงค์ 1 บาท ไถนา)

ธนบัตร 1 บาท ไถนา(แบงค์ 1 บาท ไถนา)

ธนบัตรแบบ 3 เป็นธนบัตรรุ่นแรกที่มีการนำพระบรมฉายาลักษณ์ของพระมหากษัตริย์มาใส่ไว้บนหน้าธนบัตร แบ่งออกเป็น 2 รุ่น รุ่นแรกเป็นพระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่ 7 และรุ่นที่สองเป็นพระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่ 8

ธนบัตรแบบ 4 ในช่วงแรกผลิตที่โรงพิมพ์ของบริษัทโทมัส เดอ ลา รู ได้มีการปรับขนาดของธนบัตรให้ขนาดกระทัดรัดยิ่งขึ้น เมื่อพิมพ์ธนบัตรที่บริษัทโทมัสได้ไม่นาน ก็เกิดสงครามโลกขึ้น ทำให้การขนส่งไม่สะดวก ต้องย้ายไปพิมพ์ที่กรมแผนที่ทหาร นักสะสมเรียก “แบงค์พิมพ์กรมแผนที่”

ธนบัตรแบบ 5 ทางรัฐบาลไทยได้สั่งพิมพ์ธนบัตรจากประเทศญี่ปุ่น ธนบัตรแบบ 5 จะมีความแตกต่างจากธนบัตรรุ่นอื่น คือ พระบรมฉายาลักษณ์ถูกย้ายมาอยู่ทางฝั่งขวามือตามแบบของญี่ปุ่น เมื่อเกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา ทำให้การขนส่งเป็นไปด้วยความยากลำบาก มีธนบัตร 10 บาท ที่พิมพ์เสร็จได้ถูกขนส่งไปไว้ที่สิงคโปร์ ผ่านทางรถไฟมายังกรุงเทพ เพื่อมาให้ทางรัฐบาลไทยพิมพ์หมายเลขและลายเซ็นรัฐมนตรีกระทรวงการคลัง ข่าวนี้รั่วไหลไปสู่แก็งค์หัวขโมย เมื่อรถไฟมาถึงสถานีบ้านฉาง (ห่างจากสุราษฎร์ธานี ประมาณ 25 กิโลเมตร) ได้ถูกหัวขโมยงัดตู้แล้วถีบกระสอบใส่ธนบัตรลงมา ต่อมาธนบัตรชุดที่ถูกขโมยไปนั้นได้ถูกปลอมแปลงลายเซ็นแล้วนำออกใช้ จนข่าวไปถึงกระทรวงการคลัง จึงแจ้งว่าธนบตรชุดดังกล่าวเป็นธนบัตรที่ไม่ถูกกฎหมาย  แต่เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนธนบัตรในขณะนั้น จึงนำมาแก้ราคา โดยใช้หมึกสีดำพิมพ์ทับชนิดราคา 10 บาท กลายเป็นชนิดราคา 50 สตางค์แทน นักสะสมเรียกธนบัตรรุ่นนี้ว่า “ธนบัตรไทยถีบ

ธนบัตรไทยถีบ (แบงค์ไทยถีบ)

ธนบัตรไทยถีบ (แบงค์ไทยถีบ)

ธนบัตรแบบ 6 และ ธนบัตรแบบ 7 พิมพ์ในประเทศ ใช้กระดาษจากโรงงานกระดาษที่ปราณบุรี คุณภาพไม่ค่อยดี ปัจจุบันจึงหาธนบัตรรุ่นนี้ในสภาพดีได้ค่อนข้างยาก

ธนบัตรแบบ 8 พิมพ์ที่บริษัททิวดอร์ รัฐแมนซาชูเซทท์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ผลิตขึ้นทั้งหมด 5 ชนิดราคา ได้แก่ 1 5 10 20 และ 100 บาท โดยธนบัตรชนิดราคา 20 และ 100 บาท จะมีรูปร่างและขนาดยาวคล้ายธนบัตรดอลล่าร์ของสหรัฐอเมริกา นักสะสมเรียกธนบัตรรุ่นนี้ว่า “แบงค์อเมริกัน”

ธนบัตรแบบ 9 เมื่อบริษัทโทมัส เดอ ลา รู ฟื้นตัวจากภาวะสงคราม ในปี พ.ศ.2490 เราจึงได้สั่งพิมพ์ธนบัตรจากโรงพิมพ์แห่งนี้อีกครั้ง ถ้าให้นึกง่ายๆคือ ธนบัตรที่ใช้สมัยปู่ย่า หรือพ่อแม่ของเรา ในชุดประกอบด้วย 50สตางค์ 1 5 10 20 และ 100 บาท  ชนิดราคาตั้งแต่ 5 บาท ขึ้นไปจะมีขนาดค่อนข้างใหญ่

ธนบัตรแบบ 10 มีผลิตเฉพาะธนบัตรชนิดราคา 100 บาท ด้านหน้าเป็นพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ด้านหลังธนบัตรเป็นรูปเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ สีแดงลอยลำอยู่บนพื้นน้ำสีฟ้า ตัวพื้นกระดาษธนบัตรเป็นสีขาว รุ่นนี้เป็นที่นิยมของนักสะสมเป็นอย่างมาก

ธนบัตรแบบ 11 ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ดำเนินการจัดตั้งโรงพิมพ์ธนบัตรขึ้น ในปี พ.ศ.2512
โดยผลิตขึ้นทั้งหมด 5 ชนิดราคา ได้แก่ 5 10 20 100 และ 500 บาท เรายังคงผลิตธนบัตรเองจวบจนถึงปัจจุบัน คือ ธนบัตรแบบ 16.5 ซึ่งด้านหลังของธนบัตรได้นำพระราชกรณียกิจช่วงต่างๆ ของในหลวงรัชกาลที่ 9 มาใส่ไว้

ธนบัตรที่พิมพ์ขึ้นนอกจากจะใช้จ่ายหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจแล้ว ยังมีธนบัตรอีกชนิดที่ผลิตขึ้นเพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้เก็บสะสม เรียกว่า “ธนบัตรที่ระลึก” ธนบัตรที่ระลึกจะมีรูปแบบที่สวยงามมาก ยกตัวอย่างเช่น ธนบัตร 50 บาท ที่ระลึกราชาภิเษกสมรส และ บรมราชาภิเษก ครบ 50 ปี หรือที่นักสะสมนิยมเรียกว่า “แบงค์แต่งงาน” หรือ ธนบัตร 500 บาท ที่ระลึกฉลองสิริราชสมบัติ ครบ 50 ปี ตัวธนบัตรจะถูกบรรจุอยู่ในเล่มที่ผลิตด้วยผ้าไหม นักสะสมจึงเรียกว่า “แบงค์500ปกผ้าไหม

นอกจากธนบัตรที่ระลึกที่กล่าวถึงข้างต้นแล้ว ยังมีธนบัตรที่มีความพิเศษที่นักสะสมต้องการได้แก่ “ธนบัตรเลขตอง” “ธนบัตรตัวอย่าง” “ธนบัตรตลก” “ธนบัตรเลขตอง” หรือ “แบงค์เลขตอง” ในวงการสะสมธนบัตร คือ ธนบัตรที่มีเลขทุกหลักเหมือนกัน เช่น 33ก 1111111 จะมีราคาเล่นหาในช่วงหลักพันถึงหมื่น และถ้ายิ่งเลขนำหน้าหมวดเป็นเลขเดียวกันจะยิ่งทำให้มีราคาสูงขึ้น เช่น 11ก 1111111  แต่ถ้ามีตัวเลขใดผิดเพี้ยนไปเช่น 33ก1111131 จะเรียกว่า “ธนบัตรเลขสวย” ซึ่งมีราคาเล่นหาไม่แพง อยู่ในช่วงหลักร้อยถึงพันครับ

ธนบัตรเลขตอง (แบงค์เลขตอง)

ธนบัตรเลขตอง (แบงค์เลขตอง)

ธนบัตรตัวอย่าง” เป็นธนบัตรที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้จัดพิมพ์ขึ้นเพื่อส่งมอบแก่ผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้รับรู้ว่าธนบัตรที่กำลังจะออกมานั้นรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร วิธีสังเกตธนบัตรตัวอย่าง คือ ธนบัตรจะเป็นเลข 0000000 ทั้งหมด และมีข้อความพิมพ์ด้วยตัวสีแดงหรือดำว่า “ตัวอย่าง” หรือ “SPECIMEN

ธนบัตรตัวอย่าง (แบงค์ตัวอย่าง)

ธนบัตรตัวอย่าง (แบงค์ตัวอย่าง)

ธนบัตรตลก” คือ ธนบัตรที่เกิดความผิดพลาดในระหว่างกระบวนการผลิต เช่น พิมพ์เลขเคลื่อน เนื้อกระดาษเกิน รันเลขอารบิคกับเลขไทยไม่ตรงกัน ลายน้ำกลับหัว ธนบัตรพวกนี้มีราคาดีและเป็นที่ต้องการของนักสะสมครับ

ธนบัตรตลก (แบงค์ตลก

ธนบัตรตลก (แบงค์ตลก)

แนวทางในการเก็บรักษาธนบัตรให้มีสภาพสวยเดิม เมื่อได้ธนบัตรมาสะสมแล้ว วิธีการเก็บรักษาธนบัตรให้มีสภาพขาวสวยคงเดิม เป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะถ้าเนื้อกระดาษเปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือขึ้นคราบสนิม จะทำให้มูลค่าของธนบัตรน้อยลง วิธีการที่ง่ายที่สุด คือ เก็บธนบัตรใส่ซองพลาสติกสำหรับใส่ธนบัตรโดยเฉพาะ ก่อนใส่แฟ้มสำหรับเก็บธนบัตร เก็บเข้าตู้ที่มีการคุมอุณหภูมิ และใส่ซองกันชื้นลงไปด้วย เพียงเท่านี้ธนบัตรก็จะคงสภาพสวยเดิมไปอีกหลายปีครับ

ร้านWincoin เป็นร้านรับซื้อธนบัตรเก่า ที่ให้บริการรับซื้อธนบัตรเก่า รับซื้อแบงค์เก่าทุกชนิด ที่บริหารโดยคุณวิน ภายใต้นโยบาย “รับซื้อเพื่อการสะสม ให้ราคาสูงที่สุด” ทางร้านยินดีให้คำปรึกษาทุกท่านด้วยความเต็มใจ โทร 096-818-8188 (คุณวิน) ท่านสามารถส่งภาพเพื่อประเมินราคาได้ทาง Line@ : @wincoin (** มี @ นำหน้าด้วยครับ **)

บริการของเรา